ทนายเตชทัต ศรีวิเศษ

ทนายเตชทัต ศรีวิเศษ

เมนู

เขาพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ

เขาพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ

คำขวัญประจำจังหวัดศรีสะเกษ

“ แดนปราสาทขอม หอมกระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี ”

ประวัติจังหวัดศรีสะเกษ

ก่อนประวัติศาสตร์

หลักฐานทางโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ แสดงให้เห็นการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่นี้ย้อนหลังไปตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษรหรือภาษาเขียน จารึกเรื่องราวต่างๆในสังคมมนุษย์) ตอนปลาย ในยุคเหล็กราว 2,500 ปีมาแล้ว เช่น แหล่งภาพสลักบริเวณผาเขียน-ผาจันทน์แดง ในเขตอำเภอขุนหาญ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก อันเป็นเขตพื้นที่สูงทางตอนใต้ของจังหวัดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นอกจากนั้นยังร่องรอยชุมชนสมัยเหล็กอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ทางตอนเหนือของจังหวัด เช่น กลุ่มชุมชนโบราณในเขตอำเภอราษีไศล ซึ่งปรากฏร่องรอยชุมชนที่มีหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ ที่ได้รับการฝังศพพร้อมกับวัตถุอุทิศอันเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็กและภาชนะดินเผา ตลอดจนแบบแผนพิธีกรรมฝังศพแบบวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล-ชี หรือที่เรียกว่า"วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้"

สมัยทวารวดี

ต่อมาในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 (ประมาณ 1,400 - 1,200 ปีมาแล้ว) ชุมชนสมัยเหล็ก (โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ทางตอนเหนือของจังหวัด) ได้มีพัฒนาการต่อมาเป็นชุมชนในพุทธศาสนา นิกายเถรวาทหรือหินยาน มีการจารึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ด้วยตัวอักษรหรือภาษาเขียนแบบโบราณ จึงจัดเป็นช่วง "ยุคหรือสมัยประวัติศาสตร์" ตอนต้น รวมทั้งมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ โดยการขุดคูน้ำและสร้างคันดินล้อมรอบเมือง เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำในฤดูแล้งและใช้เป็นแนวป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ชุมชนโบราณสำคัญที่มีลักษณะผังเมืองดังกล่าวนี้ เช่น เมืองโบราณที่มีคูน้ำ-คันดินในเขตอำเภอราษีไศล, เมืองโบราณโคกขัณฑ์(គោកខណ្ឌ)ซึ่งเป็นที่ตั้งตัวอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน

สมัยขอมหรือเขมรโบราณ

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-17 (ประมาณ 1,300 - 900 ปีมาแล้ว) ก็มีชุมชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับกระแสวัฒนธรรมแบบขอมโบราณตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตตอนกลางและตอนล่างของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่นับถือเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-16) และพุทธศาสนา นิกายมหายาน (ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17) โดยปรากฏเป็นชุมชนขนาดน้อยใหญ่กระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง หลายชุมชมมีการก่อสร้างศาสนาสถานซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันคือปราสาทหินโบราณ เช่น ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ ปราสาทหินสระกำแพงน้อย ใน เขตอำเภออุทุมพรพิสัย , ปราสาทบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน ปราสาทกู่สมบูรณ์ อำเภอบึงบูรพ์, ปราสาททามจาน(หรือปราสาทบ้านสมอ) ปราสาทปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่, ปราสาทตาเล็ง อำเภอขุขันธ์, ปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง, ปราสาทภูฝ้าย ปราสาทพระวิหารและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์บริเวณพะลานหินเขตผามออีแดง ปราสาทโดนตวล อำเภอกันทรลักษ์, ปราสาทหนองปราสาท ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ เป็นต้น โบราณสถานที่เรียกว่าปราสาทหินแบบศิลปะขอมที่พบเป็นจำนวนมากในจังหวัดศรีสะเกษ ส่งผลให้จังหวัดศรีสะเกษได้รับสมญานามว่า "เมืองปรางค์ร้อยกู่" หรือ "นครร้อยปราสาท"

สมัยอยุธยา

การสร้างบ้านแปงเมืองซึ่งเป็นต้นเค้าของการพัฒนามาเป็นจังหวัดศรีสะเกษ ได้ปรากฏชัดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2232 ในระยะนั้น เดิมเมืองขุขันธ์ หรือพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษปัจจุบัน มีกลุ่มชนเผ่าที่ถูกราชสำนักกรุงเทพ เรียกว่า เขมรป่าดง จำนวน 6 กลุ่ม อาศัยอยู่กันมานานแล้วและได้ตั้งเป็นชุมชน ต่างๆ ดังนี้ 

ตากะจะ(หรือตาไกร)และ เชียงขันธ์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน (บริเวณใกล้ปราสาทกุด หรือปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน วัดเจ็ก ในเขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบัน)เชียงปุม มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านเมืองที ต่อมาได้สร้างบ้านเมืองอยู่ที่บ้านคูปทายและยกเป็นปทายสมันต์ (จังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน)ส่วนเมืองทีให้เชียงปิดน้องชายเป็นหัวหน้าปกครองเชียงฆะ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านอัจจะปนึง หรือเมืองดงยาง (ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)เชียงชัย มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านจารพัต (ในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)เชียงสง มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเมืองลิง (ในเขตอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)เชียงสี (ตากะอาม) มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่กุดหวาย (อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)

ภูมิศาสตร์และการปกครอง

ห้ามพลาด 10 สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ

  1. ผามออีแดง เขาพระวิหาร
  2. ประสาทโดนตวล
  3. ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่
  4. ปราสาทสระกำแพงน้อย
  5. ปราสาทตำหนักไทร
  6. ปราสาทปรางกู่
  7. วัดล้านขวด
  8. วัดพระธาตุเรืองรอง
  9. วัดหนองตะเคียน
  10. วัดศรีบึงบูรพ์
  11. นำ้ตกถ้ำขุนศรี

10 อันดับโรงแรมหรือที่พักในจังหวัดศรสะเกษ

1. 550 บาท โรงแรม First Garden Home Resort ห่างจากใจกลางเมือง 3.3 กม. 

2. 600 บาท โรงแรม Khum Lanna Boutique ห่างจากใจกลางเมือง 6 กม. 

3. 600 บาท โรงแรม U-Sisaket Resort ห่างจากใจกลางเมือง 6 กม.

4. 690 บาท โรงแรม บาบารนย ห่างจากใจกลางเมือง 1.3 กม.

5. 720 บาท โรงแรม Unity ห่างจากวจกลางเมือง 250 เมตร.

6. 890 บาท โรงแรม Gallary Design ห่างจากใจกลางเมือง 300 เมตร.

7. 930 บาท โรงแรม Vijit Nakhon ห่างจากใจกลางเมือง 650 เมตร

8. 950 บาท โรงแรม Srilamduan ห่างจากใจกลางเมือง 2.2 กม. 


10 อันดับร้านอาหารในจังหวัดศรีสะเกษ

1. อาหารเช้า เจียวกี่ เปิด 6:00-15.00 น.

โทร. 045 965 218

2. อาหารเช้า จรวด อาหารเช้า เปิด 6:00 - 14:00 น.

โทร. 084 833 9099

3. อาหารเช้า โจ๊กแอนนี่ เปิด 6:00 - 14:00 น.

โทร. 089 716 2241

4. The 8 bar & Bistro เปิด 10:00 - 22:00 น. 

โทร. 091 791 6588

5. ลาบแสงศิริ เปิด 8:00 - 18:30 น.

โทร. 081 547 0595

6. ส้มตำสี่เผ่า เปิด 7:00 - 17:00 น.

โทร. 083 684 0123

7. ร้านไดน่า สเต็กเฮาส์  เปิด 10:30 - 22:00 น.

โทร. 045 643 090

8. ร้านเพิ่มผล บะหมี่ไข่ เปิด 8:30 - 15:30 น.

โทร. 082 746 6035

9. ร้านปูเป็น เปิด 10:30 - 15:00 น.

โทร. 062 426 4926

10. ร้านอาหารเกษสิริ เปิด 6:30 - 21:00 น.

โทร. 092 425 6242